2/12/52

กบฏ ปฏิวัติและรัฐประหารในประเทศไทย


ปฏิวัติ 1 ครั้ง / กบฏ 12 ครั้ง / รัฐประหาร 8 ครั้ง

- ปฎิวัติ 1 ครั้ง

1.การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 คือ การปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยคณะราษฎร มี นายปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้าฝ่ายที่เรียกกันว่า "มันสมอง" ทำหน้าที่ร่างคำแถลงการณ์ ร่างรัฐธรรมนูญ และหลักกฎหมายปกครองประเทศต่าง ๆ รวมทั้งการเจรจากับต่างประเทศเพื่อทำความเข้าใจภายหลังการปฏิบัติการสำเร็จแล้ว (24 มิถุนายน 2475)

- กบฏ 12 ครั้ง

1.กบฎ ร.ศ.130 หรือ กบฏเก็กเหม็ง หรือ กบฏน้ำลาย เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2455 (ร.ศ. 130) โดยนายทหารและปัญญาชนกลุ่มหนึ่ง
ก่อนการปฏิวัติสยาม พ.ศ.2475

2.กบฎบวรเดช (11 ตุลาคม 2476)

3.กบฎนายสิบ (3 สิงหาคม 2478)

4.กบฏพระยาทรงสุรเดช หรือกบฏ 18 ศพ (29 มกราคม 2482)

5.กบฎเสนาธิการ (1 ตุลาคม 2491)

6.กบฏแบ่งแยกดินแดน (พย. 2491)

7.กบฏวังหลวง เกิดขึ้นโดย นายปรีดี พนมยงค์ นำกองกำลังส่วนหนึ่งจากประเทศจีนร่วมกับคณะนายทหารเรือ และอดีตเสรีไทยกลุ่มหนึ่ง เรียกตัวเองว่า "ขบวนการประชาธิปไตย 26 กุมภาพันธ์" (26 กุมภาพันธ์ 2492)

8.กบฏแมนฮัตตัน (29 มิถุนายน 2494)

9.กบฏสันติภาพ (8 พฤศจิกายน 2497)

10.กบฎ 26 มีนาคม 2520

11.กบฎยังเติร์ก หรือ กบฏเมษาฮาวาย โดยเกิดขึ้นและจบลงอย่างรวดเร็วเสมือนฝันหรือเป็นการแสดง ประจวบกับเกิดขึ้นเมื่อต้นเดือนเมษายนตรงกับวันเอพริลฟูลส์ ซึ่งตามธรรมเนียมชาวตะวันตกถือเป็นวันที่ผู้คนโกหกใส่กันได้ จึงได้อีกชื่อนึงในเชิงเหยียดหยันจากสื่อมวลชนว่า กบฏเมษาฮาวาย (1-3เมษายน 2524)

12.กบฏทหารนอกราชการ (9 กันยายน 2528)

- รัฐประหาร 8 ครั้ง

1.พ.อ. พระยาพหลฯ ทำการรัฐประหาร (20 มิ.ย. 2476)

2.พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ และคณะนายทหารบก ทำการรัฐประหาร (8 พ.ย. 2490)

3.จอมพล ป. พิบูลสงคราม ทำการรัฐประหาร (29 พ.ย. 2494)

4.จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการรัฐประหาร (16 กันยายน 2500)

5.จอมพลถนอม กิตติขจร ทำการรัฐประหาร (20 ตุลาคม 2501)

6.จอมพลถนอม กิตติขจร ทำการรัฐประหาร (17 พฤศจิกายน 2514)

7.พล.ร.อ สงัด ชลออยู่ ทำการรัฐประหาร (20 ตุลาคม 2520)

8.พล.อ. สุนทร คงสมพงษ์ ทำการรัฐประหาร (23 กุมภาพันธ์ 2534)

9.คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ทำการรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร (19 กันยายน 2549)

ไม่มีความคิดเห็น: